การปลูกเงาะพันธุ์โรงเรียนบนที่ราบสูง
เงาะเป็นไม้ผลที่ปลูกได้ ในดินเกือบทุกชนิด แต่จะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีระบายน้ำดี โดยทั่วไปจะนิยมปลูกในพื้นที่จังหวัดใน ภาคตะวันออกและภาคใต้ เนื่องจาสภาพพื้นดังกล่าวมีความชื้นในอากาศสูง มีฝนตกกระจายเกือบตลอดปี ปัจจุบันเริ่มมีการปลูกเงาะกระจัดกระจายตามทั่วทุกภาค ซึ่งแต่ละที่ที่ปลูกก็ต้องมีการเตรียมพื้นที่ให้เหมาะสม เช่นที่ทางภาคเหนือจะนิยมปลูกไว้บนเขาเพื่อจะได้อากาศและความชื่นที่พอเหมาะ แต่ผลผลิตที่ได้ก็จะแตกต่างกันไปคือเงาะที่ปลูกในภาคเหนือจะมีลักษณะผลเปลือกบาง รสชาติ หวาน กรอบ เนื้อร่อน ไม่เฉาะและ ส่วนเงาะที่ปลูกในภาคตะวันออกและภาคใต้จะหวาน เนื้อนุ่ม เฉาะ เปลือกหนา เป็นต้น
คุณอำไพร เมืองอินทร์ เกษตรกรผู้ปลูกเงาะพันธุ์โรงเรียน เทศบาลตำบลไม้ยา อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย คุณอำไพรได้กล่าวกับทีมงานว่าตนมีพื้นที่การเกษตรทั้งหมด 60 ไร่ ปลูกลำไยพันธุ์อีดอก้านอ่อนจำนวน 43 ไร่ หลังจากนั้นไม่กี่ปีก็ประสบปัญหาเรื่องราคาลำไยที่ตกต่ำ ต่อมาปีพ.ศ. 2543 จึงมีความคิดที่จะนำเงาะมาปลูกเพิ่มเพื่อสร้างรายได้ คุณอำไพรได้นำเงาะพันธุ์โรงเรียนมาปลูกในพื้นที่ที่เหลืออีกประมาณ 17 ไร่ โดยได้นำพันธุ์มาจากจังหวัดจันทร์บุรี เป็นพันธุ์ที่เพาะเมล็ดคัดเอาต้นที่สมบูรณ์แล้วทำการเสียบยอด ปลูกในพื้นที่เขาประมาณ 3 ปีก็สามารถให้ผลผลิตมาถึงปัจจุบัน
คุณอำไพรกล่าวว่าเงาะส่วนใหญ่จะมีปลูกมากในภาคตะวันออกซึ่งนับว่าให้ผลผลิตดีเป็นที่ยอมรับของตลาดผู้บริโภค เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศอำนวยดี แต่ปัจจุบันได้เริ่มมีเกษตรกรทางภาคเหนือได้นำมาปลูกที่ไว้บนที่ราบสูงนับว่าได้ผลดีไม่แพ้กันเลยที่เดียว เงาะพันธุ์โรงเรียนเป็นเงาะที่มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด ราคาสูงกว่าเงาะพันธุ์สีชมพู มีผิวสีแดงเข้ม โคนขนมีสีแดง ปลายขนสีเขียว เนื้อหนาแห้ง และล่อนออกจากเมล็ดได้ง่าย เป็นพันธุ์ที่ตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดีแต่มีข้อเสียคือ อ่อนแอต่อการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ ในกรณีที่ขาด น้ำในช่วงของผลอ่อน ผลจะแตกหรือร่วงหลนเสียหายได้ มากกว่าเงาะพันธุ์สีชมพู
คุณอำไพรกล่าวว่าเงาะส่วนใหญ่จะมีปลูกมากในภาคตะวันออกซึ่งนับว่าให้ผลผลิตดีเป็นที่ยอมรับของตลาดผู้บริโภค เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศอำนวยดี แต่ปัจจุบันได้เริ่มมีเกษตรกรทางภาคเหนือได้นำมาปลูกที่ไว้บนที่ราบสูงนับว่าได้ผลดีไม่แพ้กันเลยที่เดียว เงาะพันธุ์โรงเรียนเป็นเงาะที่มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด ราคาสูงกว่าเงาะพันธุ์สีชมพู มีผิวสีแดงเข้ม โคนขนมีสีแดง ปลายขนสีเขียว เนื้อหนาแห้ง และล่อนออกจากเมล็ดได้ง่าย เป็นพันธุ์ที่ตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดีแต่มีข้อเสียคือ อ่อนแอต่อการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ ในกรณีที่ขาด น้ำในช่วงของผลอ่อน ผลจะแตกหรือร่วงหลนเสียหายได้ มากกว่าเงาะพันธุ์สีชมพู
เงาะที่นำมาปลูกนั้น ได้พันธุ์มาจากจังหวัดจันทร์บุรี ซึ่งเป็นเงาะพันธุ์โรงเรียน โดยการขยายพันธุ์ด้วยการทราบกิ่งและการติดตา หลังจากที่ปลูกแล้วเกษตรกรจะปฏิบัติดูแลรักษาหลังจากปลูกเป็นอย่างดี เงาะจะเริ่มให้ผลเมื่อมีอายุประมาณ 3-4 ปี การเตรียมพื้นที่ปลูกควรเตรียมพื้นที่ปลูกในฤดูแล้งเพราะสามารถทำงานได้สะดวก และสามารถปลูกได้ทันทีตั้งแต่ต้นฤดูฝน ไถกำจัดวัชพืช ตลอดจนตอไม้และไม้ยืนต้นอื่น ๆ ออกให้หมดไถพรวน ปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ
เงาะเป็นไม้ผลที่มีทรงพุ่มกว้างและออกดอกที่ปลายทรงพุ่ม จึงต้องปลูกเงาะให้เจริญเติบโต จะได้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่ และเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติภายในสวน โดยระยะปลูกที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 8x8 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกเงาะได้ประมาณ 16 ต้น และหลุมที่ปลูกเงาะจะมีขนาดความลึก 15 เซนติเมตร กว้าง 8 นิ้ว วิธีปลูกจะคุ้ยดินที่เตรียมไว้ให้เป็นหลุมเล็ก ๆ วางกิ่งพันธุ์ที่นำออกมาจากภาชนะลงตรงกลางหลุม แล้วกลบดิน ให้สูงกว่าระดับดินเดิมไม่เกิน 1 นิ้ว และไม่ควรให้สูงถึงรอยแผลที่ติดตา แล้วใช้ไม้เป็นหลักผูกยึด กิ่งพันธุ์ดีไว้กับหลักเพื่อป้องกันต้นล้ม เสร็จแล้วต้องรดน้ำตามทันทีเพื่อช่วยให้เม็ดดินกระชับราก
เงาะเป็นไม้ผลที่มีทรงพุ่มกว้างและออกดอกที่ปลายทรงพุ่ม จึงต้องปลูกเงาะให้เจริญเติบโต จะได้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่ และเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติภายในสวน โดยระยะปลูกที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 8x8 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกเงาะได้ประมาณ 16 ต้น และหลุมที่ปลูกเงาะจะมีขนาดความลึก 15 เซนติเมตร กว้าง 8 นิ้ว วิธีปลูกจะคุ้ยดินที่เตรียมไว้ให้เป็นหลุมเล็ก ๆ วางกิ่งพันธุ์ที่นำออกมาจากภาชนะลงตรงกลางหลุม แล้วกลบดิน ให้สูงกว่าระดับดินเดิมไม่เกิน 1 นิ้ว และไม่ควรให้สูงถึงรอยแผลที่ติดตา แล้วใช้ไม้เป็นหลักผูกยึด กิ่งพันธุ์ดีไว้กับหลักเพื่อป้องกันต้นล้ม เสร็จแล้วต้องรดน้ำตามทันทีเพื่อช่วยให้เม็ดดินกระชับราก
วิธีการดูแลรักษาให้น้ำเงาะ โดยเงาะที่เริ่มปลูกจะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจนกว่าเงาะจะตั้งตัวได้ ปกติแล้วควรให้ 7-10 วัน / ครั้ง เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้ง คุณอำไพรจะหาหญ้าแห้งหรือฟางแห้งคลุมบริเวณโคนต้นเพื่อ รักษาความชื้นในดิน สำหรับเงาะที่ให้ผลแล้วนั้น ในระยะใกล้จะออกดอกจะมีการบังคับน้ำโดยให้น้ำปริมาณที่น้อยมาก เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อนและเมื่อเงาะแทงช่อดอกออกมาให้สังเกตว่า มีใบอ่อนแซมซ่อมดอกออกามากหรือน้อย ถ้ามีใบอ่อนแซมซ่อมดอกมากก็งดการให้น้ำสักระยะจนใบอ่อนที่แซม มานั้นร่วงจนหมดจึงค่อยเริ่มให้น้ำ เพื่อให้ตาดอกเจริญต่อไป โดยจะให้ประมาณ 1 ใน 3 ของการ ให้น้ำตามปกติ และเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อดอกเริ่มปานและติดผล ในช่วงการเจริญเติบโตของผลจะ ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าเงาะได้รับน้ำน้อยเกินไป ผลจะเล็กผลลีบและมีเปลือกหนา ในช่วงที่ใกล้จะเก็บเกี่ยวถ้าฝนทิ้งช่วงต้องมีการดูแลให้ต้น เงาะได้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าเงาะขนาดน้ำแล้วเกิดมีฝนตกลงมา ผลเงาะจะได้รับ น้ำอย่างกระทันหัน จะทำให้ผลแตกเสียหายได้ คุณอำไพรแก้ปัญหาด้วยการวางระบบน้ำกระจายน้ำด้วยระบบสปริงเกอร์ทั่วไร่
คุณอำไพรกล่าวว่าเมื่อเงาะมีอายุได้ประมาณ 1-2 ปี ก็จะใส่ปุ๋ยในอัตรา 1:1:1 เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 1/2 - 1 กิโลกรัม / ต้น และเพิ่มขึ้นประมาณ ? กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ในตอนต้นและปลายฤดูฝน ให้ใส่ปุ๋ยหลังจากตัดแก่งกิ่งและ กำจัดวัชพืชแล้วโดยใส่ร่วมกับปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์
ส่วนการใส่ปุ๋ยเงาะที่ให้ผลแล้ว ปริมาณการใส่ปุ๋ยให้พิจารณาจากอายุต้น ความอุดมสมบูรณ์ของต้น ชนิดของดิน และปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยวในฤดูที่ผ่านมา การใส่ปุ๋ยเงาะที่ให้ผลแล้ว จะให้ใน 3 ช่วง ด้วยกันดังนี้
1. การใส่ปุ๋ยเมื่อเก็บเกี่ยวผลเงาะเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยจะต้องรีบตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชโดยเร็ว ให้ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 1:1:1 เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ต้นละ 2-3 กิโลกรัม และปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยคอก ต้นละ 2-3 ปิ๊บ โดยใส่ปุ๋ยเป็นหลุม ๆ รอบทรงพุ่ม โดยใช้ปลายแหลมแทงดินเป็นรู ๆ หรือใช้จอบขุดดินเป็นหลุม หยอดปุ๋ยแล้วกลบ เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ของต้นให้พร้อมที่จะออกผลในฤดูกาลถัดไป
2. การใส่ปุ๋ยก่อนการออกดอก พอปลาย ๆ ฝน เมื่อฝนเบาบางลงหรือฝนเริ่มทิ้งช่วงให้ใส่ปุ๋ยเพื่อช่วยและตัวหลังสูง เช่น สูตร 8-24-24 หรือ 9-24-24 ประมาณ 2-3 กิโลกรัม /ต้น
3. การใส่ปุ๋ยเมื่อติดผลแล้ว หลังจากดอกบานและติดตามเล็ก ๆ นอกจากจะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอแล้ว จะต้องให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15หรือ 16-16-16 ปริมาณ 2-3 กิโลกรัม / ต้น
คุณอำไพรยังกล่าวอีกว่าการใส่ปุ๋ยทุกครั้งเกษตรกรจะต้องกระทำหลังจากการกำจัดวัชพืชแล้วถึงจะได้ผล ป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นในสวนอย่างหนาแน่น เพราะนอกจากจะไปแย่งอาหารจากเงาะแล้วยังเป็นแหล่งสะสมของ โรคและแมลงอีกด้วย ซึ่งอาจจะใช้รถตัดหญ้าหรือใช้สารเคมีควบคุมเป็นบางครั้งการผสมเกสรโดยการนำสารควบคุมการเจริญเติบโตหรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่าฮอร์โมพืช เป็นวิธีที่ที่นิยมกันในปัจจุบัน ฉีดพ่นเมื่อดอกบานภายในช่อประมาณ 25-30%ให้ฉีดพ่นช่อดอกเป็นจุด ๆ กระจายทั่วต้น หรือจะพ่นเป็นทางยาวพาดผ่านต้น ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะช่วยให้ดอกกระเทยมีเกสรตัวผู้ที่แข็งแรง แต่รังไข่จะไม่ทำงาน ฉะนั้นเมื่อดอกบานแล้วก็จะร่วงหล่นไปไม่ติดผล
ส่วนการใส่ปุ๋ยเงาะที่ให้ผลแล้ว ปริมาณการใส่ปุ๋ยให้พิจารณาจากอายุต้น ความอุดมสมบูรณ์ของต้น ชนิดของดิน และปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยวในฤดูที่ผ่านมา การใส่ปุ๋ยเงาะที่ให้ผลแล้ว จะให้ใน 3 ช่วง ด้วยกันดังนี้
1. การใส่ปุ๋ยเมื่อเก็บเกี่ยวผลเงาะเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยจะต้องรีบตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชโดยเร็ว ให้ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 1:1:1 เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ต้นละ 2-3 กิโลกรัม และปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยคอก ต้นละ 2-3 ปิ๊บ โดยใส่ปุ๋ยเป็นหลุม ๆ รอบทรงพุ่ม โดยใช้ปลายแหลมแทงดินเป็นรู ๆ หรือใช้จอบขุดดินเป็นหลุม หยอดปุ๋ยแล้วกลบ เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ของต้นให้พร้อมที่จะออกผลในฤดูกาลถัดไป
2. การใส่ปุ๋ยก่อนการออกดอก พอปลาย ๆ ฝน เมื่อฝนเบาบางลงหรือฝนเริ่มทิ้งช่วงให้ใส่ปุ๋ยเพื่อช่วยและตัวหลังสูง เช่น สูตร 8-24-24 หรือ 9-24-24 ประมาณ 2-3 กิโลกรัม /ต้น
3. การใส่ปุ๋ยเมื่อติดผลแล้ว หลังจากดอกบานและติดตามเล็ก ๆ นอกจากจะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอแล้ว จะต้องให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15หรือ 16-16-16 ปริมาณ 2-3 กิโลกรัม / ต้น
คุณอำไพรยังกล่าวอีกว่าการใส่ปุ๋ยทุกครั้งเกษตรกรจะต้องกระทำหลังจากการกำจัดวัชพืชแล้วถึงจะได้ผล ป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นในสวนอย่างหนาแน่น เพราะนอกจากจะไปแย่งอาหารจากเงาะแล้วยังเป็นแหล่งสะสมของ โรคและแมลงอีกด้วย ซึ่งอาจจะใช้รถตัดหญ้าหรือใช้สารเคมีควบคุมเป็นบางครั้งการผสมเกสรโดยการนำสารควบคุมการเจริญเติบโตหรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่าฮอร์โมพืช เป็นวิธีที่ที่นิยมกันในปัจจุบัน ฉีดพ่นเมื่อดอกบานภายในช่อประมาณ 25-30%ให้ฉีดพ่นช่อดอกเป็นจุด ๆ กระจายทั่วต้น หรือจะพ่นเป็นทางยาวพาดผ่านต้น ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะช่วยให้ดอกกระเทยมีเกสรตัวผู้ที่แข็งแรง แต่รังไข่จะไม่ทำงาน ฉะนั้นเมื่อดอกบานแล้วก็จะร่วงหล่นไปไม่ติดผล
ทั้งนี้ โรคที่เกษตรกรทั่วไปที่ปลูกเงาะพบจะมีอยู่หลายชนิดด้วยกันเช่น ขอบใบแห้งหรือปลายใบแห้งจะพบอาหารที่ปลายใบหรือขอบใบของเงาะแห้ง มีสีน้ำตาลถ้าเป็นมาก ๆ ใบจะแห้งและม้วนงอ เกิดจากสาเหตุ ในช่วงแล้ง ความชื้นในอากาศมีน้อย เงาะได้รับน้ำไม่เพียงพอป้องกัน และแก้ไขได้โดยการรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ และระบบรากถูกทำลายหรือถูกรบกวน ส่วนใหญ่แก้ไขได้โดยการใช้สารเคมี ฉีดพ่น ส่วนโรคช่อดอกแห้งเกิดจากสภาพอากาศแห้งแล้ง ซึ่งดอกเงาะในรุ่นแรกจะแห้ง การติดผลน้อยมาก แต่ถ้าหากช่อดอกยัง มีความแข็งแรงและได้รับความชุ่มชื้นเพียงพอก็สามารถแทงช่อดอก ต่อจากเดิมได้อีก ซึ่งเรียกว่า ช่อดอกหางแลนหรือหางแย้ และสาเหตุที่ทำให้ดอกร่วง ช่อดอกแห้งคือเพลี้ยไฟ
เงาะที่คุณอำไพรปลูกไว้ จะออกดอกประมาณเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์และจะมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตออกสู่ตลาดต้นเดือนมิถุนายน-ปลายเดือนกรกฎาคม ของทุกปี ซึ่งจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อหน้าสวน กิโลกรัมละ 8-10 บาท (ขึ้นอยู่กับกลไกลการตลาด) ถ้าเก็บไปขายเองในตลาดชุมชน กิโลกรัม ละ15 บาท
เงาะที่คุณอำไพรปลูกไว้ จะออกดอกประมาณเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์และจะมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตออกสู่ตลาดต้นเดือนมิถุนายน-ปลายเดือนกรกฎาคม ของทุกปี ซึ่งจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อหน้าสวน กิโลกรัมละ 8-10 บาท (ขึ้นอยู่กับกลไกลการตลาด) ถ้าเก็บไปขายเองในตลาดชุมชน กิโลกรัม ละ15 บาท
การเก็บเกี่ยวคุณอำไพรกล่าวว่าไม่ควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่มีแดดจัดเพราะจะทำให้เงาะสูญเสียน้ำ และเหี่ยวอย่างรวดเร็ว โดยปกติแล้วจะเก็บเกี่ยวเงาะในช่วงเช้า โดยใช้กรรไกรตัดในระยะที่มือเอื้อมถึง หรือจะใช้บันไดปีนขึ้นไปตัด ถ่ายใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ ควรหลีกเลี่ยงการตัดช่อเงาะให้หลุดจากต้นลงมากระทบพื้นดินโดยตรง เพราะจะทำให้ผลเงาะซ้ำ ผลแตก จนหัก มีตำหนิและเกิดการเน่า ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดผู้บริโภค
อ้างอิงhttps://www.rakbankerd.com/
No comments:
Post a Comment