"กระท่อม"สุดยอดสมุนไพร-แต่ต้องห้าม - เข้มข้น กับคนข่าวเกษตรตัวจริง

    
ประเทศไทยก็ยังคงจะเป็นประเทศที่ห้ามปลูกต้น”กระท่อม”และเป็นไม้ที่ห้ามปลูกเพราะเป็นยาเสพติดประเภท 5 มีโทษทั้งปรับและจำคุก ข้อมูลจาก”อาหารเสริม สมุนไพร CCI” อ้างที่มา กระท่อม ยาระงับปวดหรือยาเสพติดเรียบเรียงโดย ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบุว่า กระท่อมเพิ่งปรากฏเป็นยาเสพติดต้องห้ามตามกฎหมายเป็นครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8)
          เหตุผลที่แท้จริงของการออก พ.ร.บ.พืชกระท่อม พ.ศ. 2486 เนื่องจากฝิ่นที่รัฐเป็นผู้ผูกขาดผลิตฝิ่นสุก ฝิ่นดิบ มีราคาแพง ทำให้คนหันมาสูบกระท่อมแทนฝิ่น ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าแท้ที่จริงการตรา พ.ร.บ.พืชกระท่อม พ.ศ. 2486 และใช้สืบเนื่องมาจนทุกวันนี้มีเหตุผลและหลักการทางการค้าทางภาษีของรัฐ หาใช่เพราะเหตุที่พืชกระท่อมเป็นพืชเสพติดเองไม่ ขณะที่องค์การสหประชาชาติ(UN) จะยังมิได้มีการประกาศควบคุมพืชกระท่อมในบัญชีรายชื่อยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ
          เท่าที่ไปมาหลายประเทศ มีการปลูกกระท่อมอย่างเสรี ล่าสุดไปที่ประเทศมาเลเซีย ประเทศเพื่อนมีการปลูกกระท่อมเต็มไปหมด และมีการแปรรูปใบกระท่อมบรรจุแค็ปซูล เป็นอาหารเสริมเพื่อช่วยป้องกันและรักษาโรคหลายอย่าง อาทิ ลดน้ำตาลในเม็ดเลือด เหมาะสำหรับคนเป็นเบาหวาน ลดความดันสูง เป็นต้น
            จริงอยู่ว่า “กระท่อม” จะเป็นยาเสพติด แต่ขณะเดียวมีประโยชน์มากเช่นกัน ในใบกระท่อมมีสารแอลคะลอยด์ Mitragynine  มีฤทธิ์ระงับอาการปวดได้ดี  อย่าง สมัยโบราณ ใช้กระท่อมเป็นยาสมุนไพร เป็นตัวยาในตำรับของยาแก้ท้องเสีย ปวดท้องเบ่ง ท้องเสีย ท้องเฟ้อ ท้องร่วง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำให้นอนหลับ ระงับประสาท  แพทย์แผนไทยส่วนใหญ่ จะนำพืชใบกระท่อมมาใช้เป็นยารักษาแก้ท้องร่วง ในสูตรยาของหมอพื้นบ้าน อาทิ  ตำรับยาประสะกระท่อม เป็นต้น
          บางข้อมูลระบุว่า ใบกระท่อมสามารถบรรเทาโรคเบาหวานได้  ชาวนานิยมบริโภคโดยการเคี้ยวใบสด หรือเอาใบมาย่างให้เกรียมและตำผสมกับน้ำพริกรับประทานเป็นอาหาร เพื่อให้มีแรงทำงานและสามารถทนตากแดดอยู่กลางแจ้งได้เป็นเวลานาน ไม่เหน็ดเหนื่อย ชาวมลายูใช้ใบกระท่อมตำพอกแผล และใช้ทั้งใบเผาให้ร้อนวางบนท้องรักษาโรคม้ามโต เป็นต้น อย่างไรก็ตามท่านมารัฐบาลได้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุญาติให้ประเทศไทยสามารถปลูกใบกระท่อมได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบของรัฐ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป
            “กระท่อม” มีอยู่ 3 พันธุ์ คือ แตงกวา (ก้านเขียว) ยักษาใหญ่ (รูปใบใหญ่) และก้านแดงเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เนื้อแข็ง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย มาลายู จนถึงเกาะนิวกินีด้วย เป็นไม้เนื้อแข็งยืนต้นขนาดกลาง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna Speciosa Korthอยู่ ในวงศ์  RUBIACEAE ลำต้นสูงเฉลี่ย สูง10 -15 เมตร  ลำต้นตรง เปลือกสีน้ำตาล

No comments:

Post a Comment