ปลูกพลูกินใบ ราคาดี งานสร้างรายได้งาม ตลาดต้องการสูง แม่ค้ามารับซื้อถึงสวน

พลู เป็นพืชไม้เลื้อยที่นิยมนำมากินคู่กับหมาก ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเมื่อมีแขกมาเยี่ยมเยือนถึงเรือนชาน ก็จะนำหมากพลูและของต่างๆ มาตอนรับขับสู้แขกผู้มาเยือนถึงบ้าน นอกจากพลูจะเป็นที่นิยมกินแล้ว ยังได้มีการนำมาใช้ในพิธีมงคล เช่น เป็นเครื่องเซ่นไหว้ หรือประกอบพิธีกรรมต่างๆ ที่สำคัญ จึงนับได้ว่าพลูเป็นพืชที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของสังคมไทยมาอย่างยาวนานเลยทีเดียว จึงทำให้พลูยังมีความต้องการของตลาดค่อนข้างมาก จนถึงเรียกได้ว่าเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ไม่น้อย
คุณสมควร แซ่โง้ว อยู่บ้านเลขที่ 123/8 หมู่ที่ 8 ตำบลหนองสองห้อง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเกษตรกรที่มองเห็นถึงความต้องการพลูของแม่ค้าที่รับซื้อ จึงใช้พื้นที่สวนมาปลูกพลูเพื่อเป็นงานสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ที่ทำมากว่า 3 ปีกันเลยทีเดียว
คุณสมควร แซ่โง้ว
เปลี่ยนจากขายต้นไม้ มาเป็นเกษตรสวนพลูกินใบ
คุณสมควร เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนมีอาชีพเกี่ยวกับขายต้นพันธุ์ไม้ทั่วไป ต่อมาจึงได้เปลี่ยนจากอาชีพนั้นมาทำสวนฝรั่ง เมื่อปลูกไปได้ระยะเวลานาน การทำสวนฝรั่งไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะมีปัญหาเรื่องยืนต้นตายทำให้อายุของไม้สั้น จึงได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่สวนมาปลูกพลูกินใบแทน
“ช่วงนั้นประมาณ ปี 2557 เราก็เริ่มมาปรับเปลี่ยนปลูกพลูกินใบเลย เพราะช่วงนั้นเรามองว่าต้นทุนการทำสวนพลูไม่น่าจะสูงมาก ใช้อุปกรณ์อื่นๆ ไม่มากเหมือนอย่างไม้อื่น และที่สำคัญไม่ต้องใช้ระยะเวลาที่นานในการเจริญเติบโต เรียกง่ายๆ ว่า ระยะเวลาให้ผลผลิตสั้น ส่วนเรื่องการตลาดก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะมีแม่ค้ามารับซื้อผลผลิตเราถึงที่สวน ทำให้สิ่งที่เราจะลงมือทำมันมีตลาดแน่นอน ก็เลยตัดสินใจทำอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นมา” คุณสมควร เล่าถึงที่มา

เน้นใช้กิ่งตอน มาปลูกภายในสวน
เมื่อตกลงปลงใจที่จะทำสวนพลูเป็นงานสร้างอาชีพแล้ว คุณสมควร บอกว่า ก็ได้หาสายพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพมาจากญาติๆ ที่ปลูกกันอยู่เดิม ซึ่งในตอนนั้นญาติของคุณสมควรยังทำสวนพลูในปริมาณที่น้อย ทำให้มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ทำให้เขาเห็นช่องทางนี้ จึงได้มาปลูกให้มากขึ้น เพื่อให้มีกำลังส่งเพียงพอต่อความต้องการของตลาด
ก่อนที่จะนำต้นพลูมาปลูกเพื่อเก็บใบส่งขาย คุณสมควร บอกว่า จะต้องเตรียมพื้นที่ปลูกให้มีความพร้อมเสียก่อน โดยในขั้นตอนแรกจะทำโรงเรือนที่ด้านบนคลุมด้วยตาข่ายพรางแสง 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเรื่องน้ำที่อยู่ภายในร่องสวนเป็นของเดิมที่ทำสวนฝรั่งอยู่แล้ว จึงไม่มีปัญหาในเรื่องนี้
ใช้เสาหินเป็นหลักให้พลูเลื้อย
“พอเราพลิกหน้าดินเรียบร้อย ก็หาหลักเสาปูนมาปัก โดยให้หลักมีความสูงที่พอดี ไม่สูงมากจนเกินไป อาจจะเป็นเสาปูน หน้า 2 นิ้ว ขนาดสูง 2.20 หรือ 2.50 เมตร ก็ได้ เพราะถ้าสูงเกินไปเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตจะเสียเวลา พอเตรียมพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะเตรียมต้นปลูกที่เป็นกิ่งตอน มาปลูกลงบริเวณหลุมรอบๆ เสาปูน ซึ่งก้นหลุมก็อาจจะใช้ปุ๋ยคอกช่วย เมื่อพลูเริ่มแตกใบอ่อนก็จะใส่ปุ๋ยเคมีเข้ามาช่วย ส่วนการให้น้ำ พลูชอบพื้นที่พอชื้น แต่อย่าแฉะมากเกินไป อาจทำให้ต้นตายได้” คุณสมควร บอกวิธีการปลูก
เมื่อพลูที่ปลูกมีอายุได้ประมาณ 5 เดือน ต้นก็จะเริ่มมีความสมบูรณ์ สามารถตัดใบขายได้ โดยจะตัดใบที่แก่มีสีเขียวเข้ม โดยเน้นเก็บให้ก้านใบยาวมากที่สุด ซึ่งพลูที่ปลูกในสวนจะตัดขายได้ทุก 25 วันครั้ง ต่อ 1 ต้น คือสามารถวางแผนให้เก็บผลผลิตมีขายได้ทุกวัน โดยต้นพลูที่ตัดใบขายจนหมดแล้ว คุณสมควร บอกว่า จะต้องมีการบำรุงต้นทุกครั้งด้วยการใส่ปุ๋ยเสริมเข้าไป อาจจะเป็นปุ๋ยคอกสลับกับปุ๋ยเคมี เดือนละ 1 ครั้ง
ใช้ตาข่ายพรางแสง 60 เปอร์เซ็นต์
ในเรื่องของโรคที่เป็นปัญหาสำหรับการปลูกพลู เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนโรคที่น่าเป็นห่วง คือ โรคราดำ ที่จะเข้าไปทำลายกิ่งพันธุ์ จึงทำให้ต้นพลูไม่มีความแข็งแรงและอาจเสียหายได้ จะป้องกันด้วยการฉีดพ่นยากันเชื้อราก่อนที่ฤดูฝนจะมาถึง เพื่อให้ภายในสวนปราศจากเชื้อที่จะเข้ามาทำลายต้นพลูได้ โดยหาซื้อยาได้จากร้านเคมีทางการเกษตรทั่วไป
“ต้นพลู ถือว่าเป็นพืชที่อยู่ได้นาน ถ้าเราบำรุงต้นให้ถึง อย่างเช่น พอตัดใบขายแล้ว ต้องบำรุงต้นทันที ก็จะทำให้ต้นไม่ทรุดโทรม ไม่ต้องหาต้นใหม่ๆ มาปลูกซ่อม ก็จะทำให้ประหยัดต้นทุน และที่สำคัญการตัดแต่งกิ่งก็สำคัญ ไม่ใช่ว่าเราตัดใบขายแล้ว จะไม่ต้องตัดแต่งกิ่ง เราต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอ หมั่นเอาใบฝอยใบเล็กออก กิ่งที่ไม่ดีก็เอาออก ก็จะทำให้กิ่งที่เราต้องการมีความสมบูรณ์ และสามารถมีใบไซซ์ขนาดมาตรฐานส่งขายได้” คุณสมควร บอกถึงวิธีการดูแล

แม่ค้ามารับซื้อใบพลูถึงสวน เพราะตลาดมีความต้องการ
ในเรื่องของการทำตลาด คุณสมควร บอกว่า ไม่เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับเขา เพราะก่อนที่จะลงมือปลูกพืชชนิดนี้ ได้ศึกษาเรื่องความต้องการของตลาดเป็นอย่างดีแล้ว จึงได้ตัดสินใจปลูก เรียกง่ายๆ ว่า เป็นการทำเกษตรแบบใช้ตลาดนำ ยึดความต้องการของตลาดเป็นหลักแล้วจึงลงมือทำ
พลูกินใบจะเน้นตัดขายแบบชั่งกิโลกรัม โดยราคาสามารถขึ้นลงได้ตามกลไกของตลาด ช่วงที่ราคาต่ำสุด ขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 45 บาท และราคาสูงสุดขึ้นไปถึงราคากิโลกรัมละ 120 บาท ซึ่งพลู 1 กิโลกรัม จะได้ใบพลูประมาณ 270-280 ใบ
พื้นที่ภายในสวน
“เวลาที่เราส่งขายก็ขึ้นอยู่ที่แรงงาน ว่าเก็บได้มากได้น้อย ซึ่งต่อคน ต่อวัน ก็ประมาณ 20 กว่ากิโล ซึ่งที่สวนใช้แรงงานช่วยกันประมาณ 3 คน ก็จะเก็บได้ต่อครั้ง ประมาณ 70 กิโลกรัม ต่อวัน ซึ่งที่สวนก็จะสลับกันเก็บ จึงทำให้สามารถเก็บขายได้ตลอด โดยที่ผลผลิตไม่ขาดตลาด มีป้อนให้แม่ค้าที่มารับซื้อได้อย่างไม่ขาดช่วง นี่ก็เป็นอีกเทคนิคทำการตลาดเรา” คุณสมควร บอกถึงเรื่องการตลาด
สำหรับผู้ที่สนใจอยากปลูกพลูกินใบเป็นอาชีพ คุณสมควร แนะนำว่า ให้ดูว่าในพื้นที่นั้นๆ มีความต้องการพลูมากน้อยเพียงไร เมื่อเห็นว่าตลาดที่จะส่งขายมีแน่นอนแล้ว ก็อาจจะเริ่มทำเป็นอาชีพเสริมเล็กๆ ก่อน เมื่อตลาดมีความต้องการมากขึ้น จึงค่อยๆ ขยายพื้นที่ปลูกให้มีจำนวนมากขึ้น ส่วนในเรื่องการปลูก ก็สามารถศึกษาวิธีการจากผู้ที่ประสบผลสำเร็จได้ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถปรึกษาวิธีการปลูกจากคุณสมควรได้ ยินดีให้คำแนะนำ
อ้างอิงพลู เป็นพืชไม้เลื้อยที่นิยมนำมากินคู่กับหมาก ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเมื่อมีแขกมาเยี่ยมเยือนถึงเรือนชาน ก็จะนำหมากพลูและของต่างๆ มาตอนรับขับสู้แขกผู้มาเยือนถึงบ้าน นอกจากพลูจะเป็นที่นิยมกินแล้ว ยังได้มีการนำมาใช้ในพิธีมงคล เช่น เป็นเครื่องเซ่นไหว้ หรือประกอบพิธีกรรมต่างๆ ที่สำคัญ จึงนับได้ว่าพลูเป็นพืชที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของสังคมไทยมาอย่างยาวนานเลยทีเดียว จึงทำให้พลูยังมีความต้องการของตลาดค่อนข้างมาก จนถึงเรียกได้ว่าเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ไม่น้อย
คุณสมควร แซ่โง้ว อยู่บ้านเลขที่ 123/8 หมู่ที่ 8 ตำบลหนองสองห้อง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เป็นเกษตรกรที่มองเห็นถึงความต้องการพลูของแม่ค้าที่รับซื้อ จึงใช้พื้นที่สวนมาปลูกพลูเพื่อเป็นงานสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ที่ทำมากว่า 3 ปีกันเลยทีเดียว
คุณสมควร แซ่โง้ว
เปลี่ยนจากขายต้นไม้ มาเป็นเกษตรสวนพลูกินใบ
คุณสมควร เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนมีอาชีพเกี่ยวกับขายต้นพันธุ์ไม้ทั่วไป ต่อมาจึงได้เปลี่ยนจากอาชีพนั้นมาทำสวนฝรั่ง เมื่อปลูกไปได้ระยะเวลานาน การทำสวนฝรั่งไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะมีปัญหาเรื่องยืนต้นตายทำให้อายุของไม้สั้น จึงได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่สวนมาปลูกพลูกินใบแทน
“ช่วงนั้นประมาณ ปี 2557 เราก็เริ่มมาปรับเปลี่ยนปลูกพลูกินใบเลย เพราะช่วงนั้นเรามองว่าต้นทุนการทำสวนพลูไม่น่าจะสูงมาก ใช้อุปกรณ์อื่นๆ ไม่มากเหมือนอย่างไม้อื่น และที่สำคัญไม่ต้องใช้ระยะเวลาที่นานในการเจริญเติบโต เรียกง่ายๆ ว่า ระยะเวลาให้ผลผลิตสั้น ส่วนเรื่องการตลาดก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะมีแม่ค้ามารับซื้อผลผลิตเราถึงที่สวน ทำให้สิ่งที่เราจะลงมือทำมันมีตลาดแน่นอน ก็เลยตัดสินใจทำอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นมา” คุณสมควร เล่าถึงที่มา

เน้นใช้กิ่งตอน มาปลูกภายในสวน
เมื่อตกลงปลงใจที่จะทำสวนพลูเป็นงานสร้างอาชีพแล้ว คุณสมควร บอกว่า ก็ได้หาสายพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพมาจากญาติๆ ที่ปลูกกันอยู่เดิม ซึ่งในตอนนั้นญาติของคุณสมควรยังทำสวนพลูในปริมาณที่น้อย ทำให้มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ทำให้เขาเห็นช่องทางนี้ จึงได้มาปลูกให้มากขึ้น เพื่อให้มีกำลังส่งเพียงพอต่อความต้องการของตลาด
ก่อนที่จะนำต้นพลูมาปลูกเพื่อเก็บใบส่งขาย คุณสมควร บอกว่า จะต้องเตรียมพื้นที่ปลูกให้มีความพร้อมเสียก่อน โดยในขั้นตอนแรกจะทำโรงเรือนที่ด้านบนคลุมด้วยตาข่ายพรางแสง 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเรื่องน้ำที่อยู่ภายในร่องสวนเป็นของเดิมที่ทำสวนฝรั่งอยู่แล้ว จึงไม่มีปัญหาในเรื่องนี้
ใช้เสาหินเป็นหลักให้พลูเลื้อย
“พอเราพลิกหน้าดินเรียบร้อย ก็หาหลักเสาปูนมาปัก โดยให้หลักมีความสูงที่พอดี ไม่สูงมากจนเกินไป อาจจะเป็นเสาปูน หน้า 2 นิ้ว ขนาดสูง 2.20 หรือ 2.50 เมตร ก็ได้ เพราะถ้าสูงเกินไปเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตจะเสียเวลา พอเตรียมพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะเตรียมต้นปลูกที่เป็นกิ่งตอน มาปลูกลงบริเวณหลุมรอบๆ เสาปูน ซึ่งก้นหลุมก็อาจจะใช้ปุ๋ยคอกช่วย เมื่อพลูเริ่มแตกใบอ่อนก็จะใส่ปุ๋ยเคมีเข้ามาช่วย ส่วนการให้น้ำ พลูชอบพื้นที่พอชื้น แต่อย่าแฉะมากเกินไป อาจทำให้ต้นตายได้” คุณสมควร บอกวิธีการปลูก
เมื่อพลูที่ปลูกมีอายุได้ประมาณ 5 เดือน ต้นก็จะเริ่มมีความสมบูรณ์ สามารถตัดใบขายได้ โดยจะตัดใบที่แก่มีสีเขียวเข้ม โดยเน้นเก็บให้ก้านใบยาวมากที่สุด ซึ่งพลูที่ปลูกในสวนจะตัดขายได้ทุก 25 วันครั้ง ต่อ 1 ต้น คือสามารถวางแผนให้เก็บผลผลิตมีขายได้ทุกวัน โดยต้นพลูที่ตัดใบขายจนหมดแล้ว คุณสมควร บอกว่า จะต้องมีการบำรุงต้นทุกครั้งด้วยการใส่ปุ๋ยเสริมเข้าไป อาจจะเป็นปุ๋ยคอกสลับกับปุ๋ยเคมี เดือนละ 1 ครั้ง
ใช้ตาข่ายพรางแสง 60 เปอร์เซ็นต์
ในเรื่องของโรคที่เป็นปัญหาสำหรับการปลูกพลู เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนโรคที่น่าเป็นห่วง คือ โรคราดำ ที่จะเข้าไปทำลายกิ่งพันธุ์ จึงทำให้ต้นพลูไม่มีความแข็งแรงและอาจเสียหายได้ จะป้องกันด้วยการฉีดพ่นยากันเชื้อราก่อนที่ฤดูฝนจะมาถึง เพื่อให้ภายในสวนปราศจากเชื้อที่จะเข้ามาทำลายต้นพลูได้ โดยหาซื้อยาได้จากร้านเคมีทางการเกษตรทั่วไป
“ต้นพลู ถือว่าเป็นพืชที่อยู่ได้นาน ถ้าเราบำรุงต้นให้ถึง อย่างเช่น พอตัดใบขายแล้ว ต้องบำรุงต้นทันที ก็จะทำให้ต้นไม่ทรุดโทรม ไม่ต้องหาต้นใหม่ๆ มาปลูกซ่อม ก็จะทำให้ประหยัดต้นทุน และที่สำคัญการตัดแต่งกิ่งก็สำคัญ ไม่ใช่ว่าเราตัดใบขายแล้ว จะไม่ต้องตัดแต่งกิ่ง เราต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอ หมั่นเอาใบฝอยใบเล็กออก กิ่งที่ไม่ดีก็เอาออก ก็จะทำให้กิ่งที่เราต้องการมีความสมบูรณ์ และสามารถมีใบไซซ์ขนาดมาตรฐานส่งขายได้” คุณสมควร บอกถึงวิธีการดูแล

แม่ค้ามารับซื้อใบพลูถึงสวน เพราะตลาดมีความต้องการ
ในเรื่องของการทำตลาด คุณสมควร บอกว่า ไม่เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับเขา เพราะก่อนที่จะลงมือปลูกพืชชนิดนี้ ได้ศึกษาเรื่องความต้องการของตลาดเป็นอย่างดีแล้ว จึงได้ตัดสินใจปลูก เรียกง่ายๆ ว่า เป็นการทำเกษตรแบบใช้ตลาดนำ ยึดความต้องการของตลาดเป็นหลักแล้วจึงลงมือทำ
พลูกินใบจะเน้นตัดขายแบบชั่งกิโลกรัม โดยราคาสามารถขึ้นลงได้ตามกลไกของตลาด ช่วงที่ราคาต่ำสุด ขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 45 บาท และราคาสูงสุดขึ้นไปถึงราคากิโลกรัมละ 120 บาท ซึ่งพลู 1 กิโลกรัม จะได้ใบพลูประมาณ 270-280 ใบ
พื้นที่ภายในสวน
“เวลาที่เราส่งขายก็ขึ้นอยู่ที่แรงงาน ว่าเก็บได้มากได้น้อย ซึ่งต่อคน ต่อวัน ก็ประมาณ 20 กว่ากิโล ซึ่งที่สวนใช้แรงงานช่วยกันประมาณ 3 คน ก็จะเก็บได้ต่อครั้ง ประมาณ 70 กิโลกรัม ต่อวัน ซึ่งที่สวนก็จะสลับกันเก็บ จึงทำให้สามารถเก็บขายได้ตลอด โดยที่ผลผลิตไม่ขาดตลาด มีป้อนให้แม่ค้าที่มารับซื้อได้อย่างไม่ขาดช่วง นี่ก็เป็นอีกเทคนิคทำการตลาดเรา” คุณสมควร บอกถึงเรื่องการตลาด
สำหรับผู้ที่สนใจอยากปลูกพลูกินใบเป็นอาชีพ คุณสมควร แนะนำว่า ให้ดูว่าในพื้นที่นั้นๆ มีความต้องการพลูมากน้อยเพียงไร เมื่อเห็นว่าตลาดที่จะส่งขายมีแน่นอนแล้ว ก็อาจจะเริ่มทำเป็นอาชีพเสริมเล็กๆ ก่อน เมื่อตลาดมีความต้องการมากขึ้น จึงค่อยๆ ขยายพื้นที่ปลูกให้มีจำนวนมากขึ้น ส่วนในเรื่องการปลูก ก็สามารถศึกษาวิธีการจากผู้ที่ประสบผลสำเร็จได้ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถปรึกษาวิธีการปลูกจากคุณสมควรได้ ยินดีให้คำแนะนำ

No comments:

Post a Comment