การปลูกเตยหอม















ใบเตยหอมจะมีลักษณะสีเขียว เรียวสวย และมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ จึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการนำมาประกอบช่อดอกไม้เพื่อใช้ถวายพระ การนำมาเป็นส่วนประกอบของขนมไทยหลากหลายชนิด หรือใช้แต่งกลิ่น หรือแม้กระทั่งใช้ในการดับกลิ่น และประโยชน์อื่นๆอีกมากมาย ใบเตยที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงไม่เพียงพอกับความต้องการ และเกษตรกรผู้ปลูกใบเตยก็มักจะประสบปัญหากับการขาดความรู้ความเข้าใจในการปลูกใบเตยให้ได้ผลผลิตดี ทำให้หลายรายปลูกแล้วไม่สามารถขายได้อย่างจริงจังทำให้ต้องเลิกปลูกไป วันนี้เราจึงมีวิธีการปลูกต้นเตยหอมให้ได้ผลผลิตดี และเพียงพอกับการจำหน่ายจากผู้มีประสบการณ์มาฝากกันจากการสัมภาษณ์คุณประนอม ขนุนนิล เกษตรกรผู้ปลูกต้นเตยหอมในพื้นที่หมู่ที่ 9 ตำบลคลองน้อย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้เชี่ยวชาญในการปลูกใบเตยหอม และมีประสบการณ์ในการปลูกและดูแลต้นเตยหอมมาเกือบ 10 ปี ได้เปิดเผยว่าใบเตยกำลังเป็นที่ต้องการของท้องตลาด และนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่สร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี และได้แนะนำขั้นตอนในการปลูก การคัดแยกหน่อเพื่อขยายพันธุ์ รวมถึงการจัดการในการดูแลรักษาให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยาวนานยิ่งขึ้น โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้คือ

1.เลือกพื้นที่ที่มีความชื้นสูง มีพื้นดินที่ชื้นแฉะอยู่ตลอดเวลาจะทำให้ต้นเตยหอมเจริญเติบโตได้ดีกว่าในพื้นทีแห้งแล้ง เช่นพื้นที่ตามร่องสวนที่มีน้ำหมุนเวียนตลอดจะเหมาะสมมาก

2. การคัดเลือกกล้าพันธุ์หรือหน่อที่ดี ควรเลือกที่มีองค์ประกอบของส่วนต่างๆครบและสมบูรณ์ คือ มียอดและใบที่สมบูรณ์ โดยจะอยู่ที่ประมาณ 10 ใบ หน่อไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป และมีรากพอที่จะดูดน้ำและอาหารไปหล่อเลี้ยงลำต้นได้แต่ไม่ยาวจนเกินไป เพราะจะทำให้หน่อที่ปลูกฟื้นตัวได้ช้าและไม่สะดวกในการปลูก  .วิธีการปลูกที่ได้ผลดีคือ ปลูกให้เป็นแถวโดยใช้ไม้ปักนำ ระยะห่างแต่ละต้นประมาณ 1 ศอก ระยะห่างระหว่างแถวพอประมาณ ให้เป็นช่องพอที่จะเดินผ่านได้ และคอยดูแลกำจัดวัชพืชรวมถึงไม้เลื้อยที่ขึ้นปกคลุมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และเพื่อให้ต้นเตยหอมเจริญเติบโตได้ดี

4.เมื่อปลูกครบ 2 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อบำรุงใบ โดยสูตรที่ใช้เป็นประจำและได้ผลดีคือสูตร 21-0-0 และไม่ต้องใส่มากเกินไป โดยเฉลี่ยแล้วจะใส่เพียงต้นละ 1 หยิบมือโดยประมาณ หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยสูตรเดิมทุกๆ 2 เดือน และหมั่นคอยกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ 

5.สำหรับการตัดใบเตยเพื่อให้ได้ใบเตยที่ดีและมีคุณภาพนั้น ควรตัดใบเตยจากด้านล่างของลำต้นไล่ขึ้นไปด้านบน โดยให้เหลือส่วนที่เป็นใบและยอดแต่ละต้นประมาณ 15 ใบ และเว้นช่วงเวลาในการตัดใบแต่ละต้นประมาณ 3 วัน เพื่อให้ต้นไม่โทรมและยืดระยะเวลาการเก็บเกี่ยวใบเตยได้นานหลายปียิ่งขึ้น
                                                                  ที่มา
                                                                     https://www.rakbankerd.com/

No comments:

Post a Comment