วิธีปลูกแตงกวา (Cucumber)

วิธีปลูกแตงกวา (Cucumber)

แตงกวา
แตงกวา เป็นพืชที่นำผลมาใช้เป็นอาหาร มนุษย์เริ่มบริโภคแตงกวามานานกว่า 3,000 ปี ชาวจีนเป็นผู้แพร่พันธุ์แตงกวาไปสู่ประเทศต่างๆ ผลของแตงกวานำมาประกอบอาหารได้ในลักษณะดิบ และสุก นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในอุตสาหกรรมทำอาหารดอง แตงกวาเป็นพืชที่ปลูกง่าย อายุสั้น การเจริญเติบโตเป็นพุ่มและมีเถาเลื้อย เดิมมีถิ่นกำเนิดอยู่แถบเอเชียแตงกวาเป็นพืชพวกเดียวกับแตงโม ฟัก ตำลึง บวบ ดังนั้นลำต้นจึงมีมือเกาะพยุงลำต้น ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีขนปกคลุม ในต้นเดียวกันจะมีดอกตัวผู้และตัวเมีย เมื่อผสมเกสรจะเกิดผลที่ดอกตัวเมีย ขณะผลยังเล็กจะมีหนามเต็มไปหมด และหนามจะหลุดไปเมื่อผลโตขึ้น ผลมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูก ในบางกรณีสามารถผลิตแตงกวาที่ไม่มีเมล็ดได้ ซึ่งนิยมกันในต่างประเทศ
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโต แตงกวาชอบขึ้นในดินร่วนปนทราย การระบายน้ำดีชอบอากาศร้อน ถ้าปลูกในที่เย็นจัด อุณหภูมิประมาณ ซ เมล็ดแตงจะไม่งอกแต่จะฟักตัวอยู่ในดิน หากอุณหภูมิเริ่มอบอุ่นขึ้น เมล็ดนั้นจะกลับงอกขึ้นมาอีก หากอากาศเย็นจะให้ผลช้า อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต ประมาณ 25 – ซ หรือสูงกว่านี้แตงก็โตได้ปกติ ประเทศไทยนับว่าเหมาะสมที่จะปลูกแตงกวามาก ยกเว้นในเขตที่มีอากาศเย็นจัด นอกจากนี้ แตงกวายังต้องการบรรยากาศที่แห้งด้วย ต้องการแสงแดดจัดตลอดวัน ความเป็นกรดด่างของดินประมาณ 5.5 – 6.8
การเตรียมดิน แตงกวาเป็นพืชที่มีระบบรากลึกปานกลาง ควรขุดไถให้หน้าดินลึกประมาณ 20 – 25 ซม. และควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเก่าลงไปในการเตรียมดินด้วย และเนื่องจากมักนิยมปลูกแตงแบบหยอดเมล็ดลงโดยตรงในแปลง ดังนั้น ผิวหน้าดินของแปลงปลูกควรละเอียดพอประมาณ
การปลูก มักใช้วิธีดังนี้
ปลูกเป็นหลุม ใช้ระยะระหว่างแถวประมาณ 1.5 เมตร ระยะระหว่างต้น 1 เมตร หรือ 1.5 – 1.5 เมตร โดยใช้เมล็ดหยอดหลุมละ 3 – 5 เมล็ด โดยให้ลึกลงไปในดิน 2.5 ซม. แล้วกลบด้วยปุ๋ยคอก การยกร่องปลูก หากปลูกเป็นแปลงใหญ่ นิยมปลูกแถวเดี่ยว และได้ระยะระหว่างแถวห่าง 1.5 ม. ระหว่างต้น 50 ซม. ในกรณีนี้มักไม่ปักไม้ค้าง หากพื้นที่ยกร่องเล็กๆ มักปลูกเป็นแถวๆ คู่ มักปักค้างให้เถาแตงเลื้อยขึ้นระยะปักใช้ 100 – 50 ซม. เมื่อหยอดเมล็ดเสร็จควรใช้ฟางคลุมและรดน้ำให้ดินชื้นอยู่เสมอ หลังจากแตงกวางอกและมีใบจริง 2 ใบ ควรถอนทิ้งให้เหลือหลุมละ 1 – 2 ต้น เมื่อเถาแตงอายุ 14 วัน จะเริ่มเลื้อย จึงมักปักค้างให้แตงโดยปักไม้ ปักหลุมละ 1 อัน และให้หลักเอนเข้าหากัน และมัดไว้ด้านบน ไม้ค้างควรยาว 2 เมตร
การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้น้ำ ระบบการให้น้ำแบบ Furrow System มักให้ผลดี เพราะผิวดินจะชุ่มน้ำมากและเถาแตงไม่เปียกน้ำ หากให้น้ำระบบที่ทำให้เถาแตงเปียกน้ำ อาจเป็นบ่อเกิดของโรคเน่าได้ โรคเน่ามักเป็นที่ใบและลำต้น
การพรวนดิน ควรทำในระยะแรกเพื่อกำจัดวัชพืชในระยะต่อมาอาจทำลำบาก เพราะรากแตงจะอยู่ที่ผิวดินมาก หากพรวนดินจะกระทบกระเทือน ระบบรากทำให้ชะงักการเจริญเติบโต และประกอบกับเถาแตงมักเปราะง่าย ดังนั้น อาจทำให้การเจริญของแตงไม่ดี
การให้ปุ๋ย ในการใส่ปุ๋ยคอกตอนเตรียมดินมักใช้ในอัตรา 2 ต้น/ไร่ และมักใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 เป็นปุ๋ยรองพื้นด้วย การเจริญในระยะแรก ควรใส่โซเดียมในเตรต 1 ช้อนโต๊ะ/หลุม ต้นแตงจะแข็งแรงดี อาจใส่ 2 ครั้งภายใน 1 เดือนแรกของการเจริญเติบโต แต่เนื่องจากแตงเป็นผักที่รับประทานผล ดังนั้นในระยะหลังควรใส่ปุ๋ย 14-14-21 ในอัตรา 50 กก./ไร่ และปุ๋ยสูตรนี้อาจใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นก็ได้
การเก็บเกี่ยว มักเริ่มเก็บผลแตงได้ เมื่อหลังจากหยอดเมล็ด 40 วัน และจะเก็บไปเรื่อยๆ อีกประมาณ 1 เดือน การเก็บต้องคำนึงถึงขนาดของผล และจุดประสงค์ของการใช้ในการดอง มักเก็บเมื่อผลมีอายุ 3 – 4 วันจากผสมเกสร ในการบริโภคสด มักเก็บเมื่ออายุ 6 – 7 วัน หลังจากผสมเกสรระยะผสมเกสรเป็นระยะที่ดอกแตงบาน หากทิ้งผลที่มีอายุมากไว้กับต้นแตง ต้นแตงจะโทรม ผลแตงอ่อนจะมีสีเขียวปนขาว ผลแตงแก่จะมีสีเหลือง หลังจากเก็บเกี่ยวมาอยู่ได้ 2 – 3 วัน คุณภาพจะเสื่อมลง แตงกวาพันธุ์พื้นเมืองของเรา มีขนาดประมาณ 7 – 10 ซม. พันธุ์ต่างประเทศ ขนาดของผลประมาณ 20 – 25 ซม. และผลอ่อนสีเขียวเข้มมาก
พันธุ์แตง พันธุ์แตงกวาสามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ แตงกวาทานผลสดและแตงกวาดองสำหรับแตงกวาทานผลผสมควรมีเนื้อบางไส้ (เมล็ด) ใหญ่ สีของเปลือกไม่เขียวเข้ม และแตงกวาพวกนี้มี 2 ประเภท คือ ประเภทที่มีหนามดำ จะเก็บไว้ไม่ทนหลังจากเก็บเกี่ยวมาจากต้น มักเก็บรักษาไว้ได้ประมาณ 2 – 3 วัน ก็จะเสียคุณภาพ และอีกประเภทหนึ่งคือ หนามสีขาว จะมีคุณภาพในการเก็บรักษาได้ดีกว่า คือประมาณ 1 สัปดาห์ สำหรับแตงกวาดองเป็นแตงกวาที่ควรมีลักษณะเนื้อหนา ไส้ (บริเวณที่มีเมล็ด) เล็ก เปลือกสีเขียวเข้ม เมื่อนำไปดองจะกรอบแข็ง
พันธุ์ที่ทานผลสดมีดังนี้
  1. พันธุ์พื้นเมือง ผลมีขนาดไม่ใหญ่นัก ยาวประมาณ 7 – 10 ซม. ผลสีเขียวอ่อนปนขาว กรอบ ไส้ใหญ่ น้ำมาก
  2. Giant Climbing. Takii ผลขนาดใหญ่ยาวประมาณ 20 – 25 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางผล 6 ซม. เนื้อนุ่ม ผิวสีเขียว หนามสีขาว
  3. Belcanto Hybrid. Royal Sluis เป็นพันธุ์เบา ผลสีเขียวเข้มหนามยาว ผลขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 – 6 ซม. ผลยาวประมาณ 24 – 26 ซม.
  4. Spring Swallow Hybrid ผลยาวประมาณ 25 – 30 ซม. ผลมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 ซม. ผิวสีเขียวเข้ม ผลผลิตสูง
พันธุ์แตงกวาดองมีดังนี้ (Prickle)
  1. Ofra Hybrid พันธุ์เบาเป็นลูกผสม อัตราส่วนของความยาว : ความหนา 3 : 1 ผลเรียบ ผอมไม่มีรสขม
  2. Kobus Hybrid พันธุ์ค่อนข้างเบา อัตราส่วนความยาว ความหนา 3 : 1 ผิวขรุขระเป็นหนาม
  3. Saladin Hybrid ผลมีลักษณะผอม สั้น มีหนามสีขาว ผิวสีเขียวเข้ม
  4. Pickle 152 Hybrid พันธุ์เบา ผลผอม ยาวถึง 30 ซม. สีเขียว เนื้อหนา มีหนามขาวเล็กๆ
การดองแตงทำได้ดังนี้
  1. ทำให้เปรี้ยว โดยนำแตงมาแช่น้ำเกลือประมาณ 4 – 5 วัน แตงจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง มีรสเปรี้ยวๆ เค็มๆ
  2. หากต้องการให้แตงมีรสอื่น เช่น เปรี้ยวด้วยน้ำสม ก็ให้นำแตงในข้อ 1 มาล้างน้ำ ผึ่งให้แห้งแล้วแช่ในน้ำส้ม
  3. หากต้องการให้แตงมีรสหวาน ก็ให้นำแตงในข้อ 1 มาล้างน้ำแล้วผึ่งให้แห้ง แล้วนำมาใส่ในน้ำเชื่อม
การผลิตเมล็ดพันธุ์ เนื่องจากแตงอาจมีการผสมข้าม ดังนั้น ในการผลิตเมล็ดพันธุ์จึงไม่ควรปลูกพันธุ์อื่นใกล้เคียง การเก็บต้องเก็บตอนผลแก่ ผลจะเหลืองเข้มจนเป็นน้ำตาล ผิวเริ่มมีรอยแตก นำผลมาผ่าแคะเมล็ดออก นำเมล็ดที่ติดเนื้อนั้นมาหมัก 2 วัน คนๆ แล้วแยกเนื้อกับเมล็ดออกมาล้างน้ำผึ่งให้แห้ง ตอนหมักใช้ HCI เข้มข้นในอัตรา HCI 10 ซซ./เมล็ด 1 กก. หยดลงใปในถังหมัก แล้วคนตลอดเวลา จะเร่งระยะเวลาให้เมล็ดหลุดเร็วขึ้น เมล็ดที่ตากแห้งดีแล้วนั้น นำมาเก็บที่อุณหภูมิต่ำและความชื้นต่ำจะเก็บได้นาน
โรคและแมลง โรคเข้าทำลายแตงแล้วทำให้ผลผลิตของแตงต่ำลง มีดังนี้
  1. Bacterial Wilt เป็นเชื้อแบคทีเรีย เข้าทำลายใบแตง ต้นแตงเหี่ยวตาย มีแมลงปีกแข็งเป็นพาหะ ต้องทำลายวัชพืชที่เป็นที่อยู่อาศัยของแมลงหรือใช้พันธุ์แตงที่มีความต้านทานโรคนี้
  2. Anthracnose ทำลายต้น ผลเป็นเชื้อรา ต้องนำเมล็ดพันธุ์มาคลุกยากันราก่อนปลูก หรือใช้พันธุ์ต้านทาน
  3. Angular leaf Spot เป็นเชื้อราทำให้ผล ใบ เน่า ลุกรามรวดเร็ว ป้องกันโดยจุ่มเมล็ดลงใน อัตรา 1 / 1,000 นาน 5 นาที แล้วล้าง ตากให้แห้งก่อนไปปลูกหรือใช้พันธุ์ต้านทาน ต้นเป็นโรคฉีดพ่นด้วย Streptomycin
  4. Downy Mildew เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ทำลายที่ใบ ใบมีจุดเหลือง ทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ผลไม่มีคุณภาพ ใช้ยา Nabam, Zineb
  5. Mosiac of cucumber เกิดจากเชื้อไวรัส โดยมีอาการเหี่ยวแห้งอย่างรวดเร็ว ผลเป็นปุ่มป่ำ มีสีซีดๆ เกิดเป็นแถบๆ มีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะ ต้องกำจัดวัชพืชบริเวณปลูกแตง และอย่าให้เถาแตงเป็นแผล อาจใช้พันธุ์ต้านทาน 

No comments:

Post a Comment